นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ (22 ส.ค.65) ที่ระดับ 35.80 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลง” จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 35.74 บาทต่อดอลลาร์ โดยมองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 35.30-36.00 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.70-35.90 บาทต่อดอลลาร์
ทั้งนี้ สัปดาห์ที่ผ่านมา ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และรายงานการประชุม FOMC ล่าสุด ได้กดดันให้ตลาดกลับมากังวลแนวโน้มเฟดเดินหน้าเร่งขึ้นดอกเบี้ย และในสัปดาห์นี้ มองว่า ตลาดจะรอประเมินทิศทางนโยบายการเงินของเฟดจากถ้อยแถลงของประธานเฟดในงานประชุม Jackson Hole พร้อมกับจับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของบรรดาเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการในเดือนสิงหาคม
ไฮไลท์สำคัญที่ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามอย่างใกล้ชิด คือ ถ้อยแถลงของประธานเฟดในงานประชุมวิชาการประจำปีของเฟดที่เมือง Jackson Hole รัฐ Wyoming เพื่อประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟด รวมถึงมุมมองของประธานเฟดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อสหรัฐ
โดยหากประธานเฟดไม่ได้แสดงท่าทีกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจมาก แต่ยังคงกังวลปัญหาเงินเฟ้อสูงและยังสนับสนุนการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ก็อาจทำให้ตลาดกลับมามองว่าเฟดยังมีแนวโน้มเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยและอาจคงดอกเบี้ยในระดับสูงได้นาน ซึ่งอาจจะเป็นไปตาม Dot Plot เดือนมิถุนายน แต่ก็จะเป็นการขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าที่ตลาดรับรู้หรือ price-in ในปัจจุบัน ที่ตลาดมองว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยไม่เกิน 3.75% ก่อนที่จะทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ในครึ่งหลังของปีหน้าคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ขณะที่ในฝั่งไทยตลาดประเมินว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะบรรดาเศรษฐกิจหลักที่ทยอยสะท้อนผ่านดัชนี PMI ที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องอาจกดดันให้ยอดการส่งออกไทยในเดือนกรกฎาคมโตราว +10% ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า
สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท ประเมินว่า เงินบาทมีความเสี่ยงที่จะผันผวนอ่อนค่าทดสอบแนวต้านใกล้ 35.90 บาทต่อดอลลาร์ ตามการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์และโฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว ส่วนนักลงทุนต่างชาติอาจทยอยขายทำกำไรหุ้นไทย หรืออาจรอจังหวะให้หุ้นไทยย่อตัวลงบ้าง ก่อนจะซื้อเพิ่ม ทำให้เงินบาทอาจขาดแรงหนุนฝั่งแข็งค่า
อย่างไรก็ตามการอ่อนค่าของเงินบาทอาจถูกชะลอลงด้วยแรงขายเงินดอลลาร์จากผู้ส่งออก รวมถึงผู้เล่นบางส่วนที่ยังมองแนวโน้มเงินบาทแข็งค่า ในส่วนเงินดอลลาร์นั้น เงินดอลลาร์อาจแข็งค่าขึ้นต่อได้ หากตลาดเชื่อว่าเฟดอาจเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงต่อ นอกจากนี้ ความกังวลเศรษฐกิจยุโรปชะลอตัวหนักก็มีส่วนช่วยหนุนเงินดอลลาร์ผ่านแรงกดดันต่อเงินยูโร (EUR)